ประวัติโรงเรียน
|
โรงเรียนชุมชนชลประทานรังสรรค์ เป็นโรงเรียนที่กรมชลประทานเป็นผู้สร้างเพื่อทดแทนโรงเรียนในตำบลบ้านนาที่ถูกน้ำท่วม รายชื่อโรงเรียนที่ถูกน้ำท่วมมีดังนี้
1. โรงเรียนราษฎร์บำรุง
2. โรงเรียนผดุงวิทย์
3. โรงเรียนบ้านท่าโป่ง
4. โรงเรียนบ้านห้วย
5. โรงเรียนบ้านโสมง
6. โรงเรียนบ้านอูมวาบ
สาเหตุที่ถูกน้ำท่วม เพราะรัฐบาลสร้างเขื่อนภูมิพลเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้พลังงานไฟฟ้า โดยวางรากฐานเขื่อน เมื่อปี 2498 ณ ดอยเขาแก้ว และได้สร้างเขื่อนเสร็จเมื่อปี 2503 ทำการเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2507 ก่อนที่จะสร้างเขื่อนเสร็จ กรมชลประทานได้ดำเนินการอพยพราษฎรในตำบลบ้านนา รวม 12 หมู่บ้าน พระภิกษุสามเณร วัด 6 วัด สถานีอนามัย 1 แห่ง รวมทั้งโรงเรียนดังกล่าวมาแล้ว มาอยู่หมู่บ้านจัดสรร หมู่ที่ 3 – 4 ตำบลสามเงา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ใต้เขื่อนภูมิพลประมาณ 7 กิโลเมตร คือ ที่อยู่ในปัจจุบันนี้ โดยทางกรมชลประทานเป็นผู้ชดใช้ ค่าเสียหายแก่ผู้อพยพทุกหลังคาเรือน ได้สร้างวัดชดใช้ให้ 1 แห่ง สถานีอนามัย 1 แห่ง และโรงเรียน 2 หลัง
โรงเรียนชุมชนชลประทานรังสรรค์ สร้างในที่ดินของกรมชลประทาน จำนวนที่ดิน 27 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา สร้างอาคารแบบหลังคาเพิง มีมุขหน้าจำนวน 2 หลัง หลังละ 5 ห้องเรียน ราคาก่อสร้างหลังละ 200,000 บาท ได้ทำการเปิดเรียน เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2504 ชื่อโรงเรียนชลประทานรังสรรค์ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4 มีนักเรียน 300 คน นายสำราญ ฉายวัฒนา เป็นครูใหญ่
ปีการศึกษา 2505 – ขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ปีการศึกษา 2506 – ขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ปีการศึกษา 2507 – ขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 เป็นโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติประถมศึกษาระบบ 7:3:3
ปีการศึกษา 2512 – ได้รับเงินงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ ป.01 ของกรมสามัญศึกษาขนาด 6 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง และโรงฝึกงาน จำนวน 1 หลัง
ต่อมา อาคารเรียนที่กรมชลประทานสร้างให้ชำรุด ในปี 2516 จึงได้รับอนุมัติให้รื้ออาคารเดิมทั้ง 2 หลัง และทางกรมสามัญได้ให้เงินงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 2 หลัง คือ หลังที่ 1 แบบ 008 (ของกรมสามัญ) ชั้นเดียว 8 ห้องเรียน ราคา 320,000 บาท หลังที่ 2 แบบ 015 (ของกรมสามัญ) สองชั้น 16 ห้องเรียน ราคา 500,000 บาท โดยการประมูลราคา เริ่มทำการก่อสร้าง เมื่อเดือนตุลาคม 2515 สร้างเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2516 ขณะนั้นนายสำราญ ฉายวัฒนา ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
ปีการศึกษา 2517 - นายล้วน สาลี ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ เมื่อวันที่
1 พฤษภาคม 2517 จึงดำเนินการให้นักเรียนเข้าเรียนในอาคาร
หลังใหม่
ปีการศึกษา 2518 - ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนชุมชนชื่อ “โรงเรียนชุมชน
ชลประทานรังสรรค์”
ปีการศึกษา 2530 - นางมยุเรศ คงเมือง ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
เมื่อ 20 เมษายน 2530
ปีการศึกษา 2532 - ได้รับงบประมาณสร้างสุขา 10 ที่นั่ง แบบ สปช. 601/26
เป็นเงิน 124,800 บาท
ปีงบประมาณ 2537 - ได้รับงบประมาณสร้างสุขา 8 ที่นั่ง แบบ สปช. 601/26
เป็นเงิน 178,500 บาท
ปีงบประมาณ 2539 - ได้รับงบประมาณปรับปรุงห้องปฏิบัติการทางภาษา
เป็นเงิน 64,500 บาท
- ได้รับงบประมาณครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการทางภาษา
เป็นเงิน 270,400 บาท
ปีงบประมาณ 2540 - ได้รับงบประมาณปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์ และห้องวิทยาศาสตร์
- ได้รับงบประมาณจากสมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก สร้าง
ถนนคอนกรีต เสริมเหล็ก ยาว 315 เมตร กว้าง 4.50 เมตร
เป็นเงิน 388,400 บาท
ปีงบประมาณ 2543 - ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเอนกประสงค์ แบบ สปช. 206
ราคา 1,280,000 บาท
ปีงบประมาณ 2553 - ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนดีประจำตำบล ได้รับงบประมาณ
- ซ่อมแซมอาคารเรียนฯ 2,701,900 บาท
- หอประชุม แบบ 100/27(ศูนย์กีฬา) 5,714,400 บาท
- ครุภัณฑ์การศึกษา 1,994,020 บาท
- วัสดุการศึกษา 283,400 บาท
ปีงบประมาณ 2555 - ได้รับงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมห้องสุขา แบบ สปช 602/26
เป็นเงิน 300,000 บาท
ปีการศึกษา 2552 - นางมยุเรศ คงเมือง ผู้อำนวยการโรงเรียน เกษียณอายุราชการ
เมื่อ 30 กันยายน 2552
1 ตุลาคม 2552 - นางชุลีพร คงสุบรรณ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียน รักษาราชการ
แทนผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนชลประทานรังสรรค์
14 มกราคม 2553 - นายเรวัติ สอนวงษ์ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน
ชุมชนชลประทานรังสรรค์
19 พฤศจิกายน 2558 - 30 ตุลาคม 2561 นายสมศักดิ์ ปาแดง ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนชลประทานรังสรรค์
1 พฤศจิกายน 2561 - ปัจจุบัน ดร.ไชยนิเวศน์ ยิ้มขาว ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนชลประทานรังสรรค์
ปัจจุบันโรงเรียนชุมชนชลประทานรังสรรค์ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านจัดสรร ตำบลสามเงา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีพื้นที่ทั้งสิ้น 27 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา มีอาคารเรียน 3 หลัง 20 ห้องเรียน อาคารเอนกประสงค์ 1 หลัง ส้วม 3 หลัง โรงฝึกงาน 1 หลัง สนามเด็กเล่น 1 แห่ง ศูนย์กีฬา จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 181 คน จำนวน ห้องเรียน 8 ห้องเรียน จำนวนครู 11 คน ช่างครุภัณฑ์ 1 คนเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ภาระงาน/ปริมาณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจาย อำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ. ศ.2550 โดยกำหนดให้ปลัดกระทวงศึกษาธิการ หรือเลขาธิการคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาดำเนินการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษา ในด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการ เขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือสถานศึกษาในอำนาจหน้าที่ของตน แล้วแต่กรณีในเรื่องดังต่อไปนี้
1. ด้านวิชาการ
1.1 การพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาหลักสูตร
1.2 การวางแผนงานด้านวิชาการ
1.3 การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา
1.4 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
1.5 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
1.6 การวัด ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน
1.7 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา
1.8 การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้
1.9 การนิเทศการศึกษา
1.10 การแนะแนว
1.11 การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา
1.12 การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข็มแข็งทางวิชาการ
1.13 การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น
1.14 การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา
1.15 การจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา
1.16 การคัดเลือกหนังสือ
1.17 การพัฒนาสื่อและใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
2. ด้านงบประมาณ
2.1 การจัดทำแผนงบประมาณและคำขอตั้งงบประมาณเพื่อเสนอต่อปลัดกระกระทรวงศึกษาธิการ หรือเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วแต่กรณี
2.2 การจัดทำแผนปฏิบัติการใช้จ่ายเงิน ตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยตรง
2.3 การอนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
2.4 การขอโอนและการขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณ
2.5 การายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ
2.6 การตรวจสอบติดตามและรายงานการใช้จ่ายงบประมาณ
2.7 การตรวจสอบติดตามและรายงานการใช้ผลผลิตจากงบประมาณ
2.8 การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
2.9 การปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อการศึกษา
2.10 การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา
2.11 การวางแผนพัสดุ
2.12 การกำหนดรูปแบบรายการ หรือคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้างที่ใช้งบประมาณเพื่อเสนอต่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วแต่กรณี
2.13 การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการจัดทำและจัดหาพัสดุ
2.14 การจัดหาพัสดุ
2.15 การควบคุมดูแล บำรุงรักษาและจำหน่ายพัสดุ
2.16 การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน
2.17 การเบิกเงินจากคลัง
2.18 การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจ่ายเงิน
2.19 การนำเงินส่งคลัง
2.20 การจัดทำบัญชีการเงิน
2.21 การจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงิน
2.22 การจัดทำหรือจัดหาแบบพิมพ์บัญชีทะเบียน และรายงาน
3. ด้านการบริหารงานบุคคล
3.1 การวางแผนอัตรากำลัง
3.2 การจัดสรรอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.3 การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง
3.4 การเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้น การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.5 การดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน
3.6 การลาทุกประเภท
3.7 การประเมินผลการปฏิบัติงาน
3.8 การดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ
3.9 การสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
3.10 การรายงานการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ
3.11 การอุธรณ์และการร้องทุกข์
3.12 การออกจากราชการ
3.13 การจัดระบบและการจัดทำทะเบียนประวัติ
3.14 การจัดทำบัญชีรายชื่อและให้ความเห็นเกี่ยวกับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
3.15 การส่งเสริมการประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุลากรทางการศึกษา
3.16 การส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติ
3.17 การส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ
3.18 การส่งเสริมวินัย คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.19 การริเริ่มส่งเสริมการขอรับใบอนุญาต
3.20 การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
4. ด้านการบริหารทั่วไป
4.1 การพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ
4.2 การประสานงานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา
4.3 การวางแผนการบริหารงานการศึกษา
4.4 งานวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและแผน
4.5 การจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร
4.6 การพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน
4.7 งานเทคโนโบยีเพื่อการศึกษา
4.8 การดำเนินงานธุรการ
4.9 การดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
4.10 การจัดทำสำมะโนผู้เรียน
4.11 การรับนักเรียน
4.12 การเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องจัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษา
4.13 การประสานงานการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย
4.14 การระดมทรัพย์เพื่อการศึกษา
4.15 การทัศนศึกษา
4.16 งานกิจการนักเรียน
4.17 การประชาสัมพันธ์งานการศึกษา
4.18 การส่งเสริม สนับสนุนและประสานการจัดการศึกษาของบุคคล ชุมชน องค์กร หน่วยงานและสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา
4.19 งานประสานราชการกับส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
4.20 การรายงานผลการปฏิบัติงาน
4.21 การจัดระบบการควบคุมภายในหน่วยงาน
4.22 แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลงโทษนักเรียน
|